วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการ
สาระปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอน
สาระการเรียนรู้  8  กลุ่มสาระ
ช่วงชั้นที่ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1-3)

1.  ภาษาไทย
ท 1.1( 1 ):        สามารถอ่านได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อ่านได้คล่องและเร็ว เข้าใจความหมายของ คำและข้อความที่อ่าน
ท 2.1( 1 ):        สามารถเขียนคำได้ถูกความหมายและสะกดการันต์ถูกต้อง ใช้ความรู้ และประสบการณ์เขียนประโยคข้อความและเรื่องราวแสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการและจินตนาการ รวมทั้งใช้กระบวนการเขียน พัฒนางานเขียน
ท 3.1( 1 ):        สามารถจับใจความสำคัญสิ่งที่ได้ฟัง และได้ดูและเข้าใจเนื้อเรื่อง ถ้อยคำ การใช้น้ำเสียง และกิริยาท่าทางของ ผู้พูดและแสดง ทรรศนะเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
ท 3.1( 2 ):        สามารถ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม สนทนา แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่องถ่ายทอด
ท 4.1( 1 ):        สามารถสะกดคำ โดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ประสมเป็นคำอ่าน และเขียนคำได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของภาษา
ท 4.1( 2 ):        เข้าใจความหมาย และหน้าที่ของคำ กลุ่มคำ และประโยค การเรียงลำดับคำ และเรียบเรียงประโยคตามลำดับความคิดเป็นข้อความที่ชัดเจน
ท 4.1( 3 ):        สามารถ ใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยถ้อยคำสุภาพและรู้จักไตร่ตรองก่อนพูดและเขียน
ท 4.1( 6 ):        สามารถนำปริศนา คำทาย และบทร้องเล่นในท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนและเล่น
ท 4.2( 1 ):        สามารถใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนการแสวงหาความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่น และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาการเรียน
ท 4.2( 2 ):        เข้าใจความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน ใช้ภาษาได้เหมาะกับบุคคลและสถานการณ์การสื่อสาร ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการพัฒนาการอ่านและการเขียน เห็นคุณค่าการใช้ตัวเลขไทย 
ท 4.2( 3 ):        ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล
ท 5.1( 1 ):        สามารถอ่านนิทานเรื่องสั้นง่าย ๆ สำหรับเด็ก สารคดี บทความ บทร้อยกรอง และบทละครเหมาะกับวัยของเด็ก ให้ได้ความรู้และความบันเทิง ได้ข้อคิดเห็นจากการอ่านและนำไปใช้ในชีวิตจริง
2.  คณิตศาสตร์
ค 1.1( 1 ):    มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน (number sense) เกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์
ค 1.2( 1 ):    มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณและการหาร จำนวนนับและศูนย์
ค 1.2( 3 ):        แก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และสามารถสร้างโจทย์ได้
ค 1.3( 1 ):    เข้าใจเกี่ยวกับการประมาณค่าและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
ค 1.4( 1 ):  เข้าใจเกี่ยวกับการนับทีละ 1, 2,3,4,5,10,25,50 และ 100 และสามารถนำไปประยุกต์ได้
ค 2.1( 2 ):        เข้าใจเกี่ยวกับเงินและเวลา
ค 2.2( 2 ):    บอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (ช่วง 5 นาที) วัน เดือน ปี และจำนวนเงินได้
ค 2.3( 1 ):  นำความรู้เกี่ยวกับการวัด เงิน เวลา ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ค 4.2( 1 ):  วิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหาและสามารถเขียนให้อยู่ในรูปประโยคสัญลักษณ์ได้
ค 5.1( 1 ):  รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
ค 5.1( 2 ):  จำแนกและจัดประเภทตามลักษณะของข้อมูลและนำเสนอได้
ค 6.1( 1 ):  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหาได้
ค 6.1( 2 ):  ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้
ค 6.2( 1 ):  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ค 6.3( 1 ):  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสารสื่อความหมายและนำเสนอได้อย่าง
   ถูกต้องและเหมาะสม
ค 6.4( 1 ):  นำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงในการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆในวิชาคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นได้
ค 6.5( 1 ):  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
3.  วิทยาศาสตร์
ว 2.2( 1 ):        สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ว 2.2( 2 ):        อภิปรายและนำเสนอวิธีการต่าง ๆ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดคุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
ว 3.1( 2 ):        อภิปรายเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวันอธิบายได้ว่าของเล่น ของใช้ อาจมีส่วนประกอบหลายส่วน ใช้วัสดุหลายชนิด วัสดุแต่ละชนิดใช้ประโยชน์แตกต่างกัน สามารถเลือกใช้วัสดุ และ สิ่งของต่าง ๆได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
ว 5.1( 3 ):        สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายได้ว่า พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งพลังงานในธรรมชาติที่แตกต่างกันแหล่งพลังงานบางอย่างมีจำกัด จึงต้องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
4.  สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
ส 1.1( 2 ):        รู้และบอกหลักธรรมเบื้องต้นของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ส 1.2( 1 ):        ชื่นชมการทำความดีของตนเอง บุคคลในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
ส 1.2( 2 ):        เห็นคุณค่าและตั้งใจทำความดี และบอกเหตุผลการทำความดีของตนเองและผู้อื่นให้บุคคลในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ได้รับรู้และชื่นชมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3( 1 ):        รู้และปฏิบัติตนตามคำแนะนำเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองกลุ่มเพื่อน และ สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 2.1( 1 ):        รู้และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยอมรับในความสามารถเห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่นในฐานะสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
ส 2.1( 3 ):        รู้และปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรมในครอบครัวท้องถิ่น ตลอดจน เอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ รวมทั้งเคารพในความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติของบุคคลอื่นที่แตกต่างกันไปโดยปราศจากอคติ
ส 2.2( 2 ):        เคารพและปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา กฎระเบียบ การอยู่ร่วมกันในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ
ส 3.1( 1 ):        รู้และเข้าใจรายรับรายจ่ายของตนเอง และครอบครัว
ส 3.1( 2 ):        เข้าใจและปฏิบัติตามบทบาท หน้าที่ของตนเองและครอบครัวในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างฉลาด คุ้มค่า และมีคุณธรรม
ส 3.1( 3 ):        รู้และเข้าใจความหมายของทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ส 3.1( 4 ):        เข้าใจระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
ส 3.2( 1 ):        รู้และเข้าใจการทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งการผลิตและการบริการ
ส 3.2( 2 ):        รู้และเข้าใจการซื้อขายการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ส 4.1( 2 ):        เข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัวและชุมชน
ส 4.1( 3 ):        เข้าใจประวัติความเป็นมาของตนเองครอบครัวและชุมชนบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ส 4.2( 2 ):        เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
ส 4.2( 3 ):        รู้จักผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย
ส 4.3( 3 ):        รู้และเข้าใจประวัติบุคคลสำคัญในท้องถิ่นของตนเองและนำไปเป็นแบบอย่าง ในการประพฤติปฏิบัติ

ส 5.1( 1 ):        รู้ลักษณะทางกายภาพหน้าที่ และองค์ประกอบเชิงภูมิศาสตร์และสรรพสิ่งเข้าใจความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ใกล้ตัว
ส 5.2( 1 ):        รู้จักสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน เข้าใจการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของคนในชุมชน รักและรู้คุณค่าของ ธรรมชาติ
ส 5.2( 2 ):        รู้และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางสังคมในชุมชน เข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างตามสภาพแวดล้อมของชุมชนปฏิบัติตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
ส 5.2( 3 ):        เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาวะประชากรกับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในครอบครัวและโรงเรียน
ส 5.2( 4):         รับรู้ สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
5.  สุขศึกษาและพลศึกษา
พ 2.1( 1 ):        รักตนเอง เข้าใจในอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อสุขภาพและชีวิต
พ 2.1( 3 ):        ดูแล รักษาความสะอาดร่างกายได้อย่างถูกต้อง
พ 3.1( 1 ):        ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และการใช้อุปกรณ์ประกอบ
พ 3.1( 3 ):        รู้ประโยชน์ของการเล่นเกม การออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพ
พ 3.2( 2 ):        ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกา คำแนะนำในการเล่นเป็นกลุ่มและให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
พ 3.2( 4 ):        ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มด้วยความเต็มใจ และให้ความร่วมมือจนงานประสบความสำเร็จ
พ 4.1( 1 ):        เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
พ 4.1( 4 ):        รู้ เข้าใจ และมีทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและปฏิเสธสิ่งที่ เป็นผลเสียต่อสุขภาพ
พ 4.1( 6 ):        เอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพตนเอง ออกกำลังกาย พักผ่อน และร่วมกิจกรรมนันทนาการ
พ 5.1( 1 ):        เข้าใจพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาการใช้สารเสพติดการเกิดความรุนแรง การเกิดอัคคีภัย และสามารถหลีกเลี่ยง
พ 5.1( 2 ):        ป้องกัน ช่วยเหลือและดูแลตนเอง จากอุบัติเหตุ มลพิษ และสารเคมี สามารถปฐมพยาบาลด้วยวิธีง่ายๆ
6.  ศิลปะ
ศ 1.1( 3 ):        ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์อย่างปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ
ศ 1.1( 6 ):        นำความรู้ทัศนศิลป์ไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และชีวิตประจำวัน
ศ 1.2( 2 ):        สนใจงานทัศนศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศ 2.1( 6 ):        สร้างสรรค์ทางดนตรีและนำความรู้ทางดนตรีไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และชีวิตประจำวันได้
ศ 3.1( 1 ):        แสดงออกอย่างอิสระ ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยการใช้กระบวนการทางละครสร้างสรรค์
ศ 3.2( 2 ):        แสดงการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และมีรูปแบบนาฏศิลป์เบื้องต้น
7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ง 1.1( 4 ):         ทำงานด้านความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม
ง 1.1( 5 ):         ใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างประหยัด
ง 1.2( 2 ):         สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
ง 3.1( 3 ):         เปรียบเทียบสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในด้านประโยชน์ความปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ง 4.1( 2 ):         เห็นประโยชน์ของข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้
8.  ภาษาต่างประเทศ
ต 1.1( 1 ):        เข้าใจคำสั่งคำขอร้อง ภาษาท่าทางและประโยชน์ง่าย ๆ ในสถานการณ์ใกล้ตัว
ต 1.1( 3):          เข้าใจคำ กลุ่มคำ และประโยชน์โดยถ่ายโอนเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ได้ง่าย
ต 1.1( 4 ):        เข้าใจบทสนทนาเรื่องสั้นหรือนิทานง่าย ๆ ที่มีภาพประกอบ
ต 1.2( 4 ):        ใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อแสดงความรู้สึกของตนโดยใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนทางภาษาและผลจากการฝึกทักษะต่าง ๆ รวมทั้งรู้วิธีการเรียนภาษาต่างประเทศที่ได้ผล
ต 1.3( 1 ):        ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งใกล้ตัวทั่วไปด้วยท่าทาง ภาพ คำ และข้อความสั้น ๆ
ต 2.1( 1 ):        เข้าใจรูปแบบพฤติกรรมและการใช้ถ้อยคำสำนวนง่ายๆในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ต 2.1( 2 ):        รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาล งานฉลองในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ต 2.2( 2 ):        เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมไทย
ต 4.1( 1 ):        ใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในสถานศึกษา